รู้จัก Sunset yellow FCF สารสีส้มในชาไทย อันตรายหรือไม่? แนะวิธีเลือกบริโภค

ตามที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยนิตยสารฉลาดซื้อ “เปิดเผยผลทดสอบสีในเครื่องดื่มชานมไทย” เก็บตัวอย่าง เครื่องดื่มชานมไทย หรือ Thai Milk Tea จากร้านเครื่องดื่มแบรนด์ดัง จำนวน 15 ตัวอย่าง ในเดือนมีนาคม 2568 นำส่งวิเคราะห์หาปริมาณสีสังเคราะห์ (สีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้กับอาหารได้) โดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 17025 พบสีสังเคราะห์ ในทุกตัวอย่าง (เป็นสีที่อนุญาตให้ใช้กับอาหาร) และ พบสีสังเคราะห์ ตั้งแต่ 1-4 สี ได้แก่ Sunset yellow FCF, Tartrazine, Ponceau 4R และ Carmoisine or Azorubine นั้น

อ่านข่าว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดผลทดสอบสีใน ‘ชาไทย’ 15 แบรนด์ดัง พบสีสังเคราะห์ทุกตัว เผย 3 อันดับพุ่งสูง

เมื่อวันที่ 28 เมษายน นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เคยให้ข้อมูลว่า ผลิตภัณฑ์ชามีหลายประเภท ได้แก่ ชาใบ ชาผงสำเร็จรูป และชาปรุงสำเร็จ ซึ่งส่วนใหญ่ชาที่มีการใส่สี จะเป็นประเภทชาปรุงสำเร็จ ที่มีการปรุงแต่งสีกลิ่นรส ตามกฎหมายจะอนุญาตให้ใส่สี yellow no 6 หรือสี sunset yellow ได้ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในสภาพพร้อมบริโภค ซึ่งสอดคล้องตามมาตรฐานสากล โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ถือว่าสีดังกล่าวยังปลอดภัยสำหรับการใช้ในอาหารตามขีดจำกัดที่กำหนด

อย่างไรก็ตาม ควรมีการควบคุมการใช้และการบริโภคอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการใช้ในปริมาณที่เกินขีดจำกัดที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ การเลือกซื้อชาในภาชนะบรรจุมาดื่ม ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต สังเกตบนฉลากต้องมีเลข อย. ชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า มีการแสดงส่วนประกอบของชา หากต้องการดื่มชาที่มีสีและกลิ่นตามธรรมชาติของชานั้น ให้เลือกใบชาหรือผงชาเป็นส่วนประกอบหลักโดยในส่วนประกอบที่แสดงบนฉลากจะไม่มีสีและน้ำตาล

แต่หากต้องการดื่มชาปรุงสำเร็จที่มีการแต่งสี และปรุงรส เช่น เติมน้ำตาล บนฉลากจะมีการแสดงคำว่า สีสังเคราะห์ หรือสีธรรมชาติ (INS…หรือ ชื่อของสี) เช่น สี INS110 หรือ สี Sunset yellow”

ในการดื่มชาผู้บริโภคควรสังเกตสี เมื่อชงพร้อมดื่มแล้ว จะต้องมีสีตามธรรมชาติ ไม่เข้มฉูดฉาด ส่วนการซื้อเครื่องดื่มชาตามร้านค้าหรือคาเฟ่ ควรเลือกซื้อเครื่องดื่มชาสีอ่อน ไม่เข้มฉูดฉาดเช่นเดียวกัน และไม่ควรดื่มวันละหลายๆ แก้ว ควรเลือกดื่มเครื่องดื่มให้หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับสีผสมอาหารชนิดเดิมซ้ำๆ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ

ขณะที่เพจ “นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” โพสต์ข้อความโดยอ้างอิงบทความจากเว็บไทยพีบีเอส ระบุว่า “Sunset Yellow FCF” อันตรายจริงหรือไม่?

สีส้มในชาไทย หรือสาร Sunset Yellow FCF เป็นสีผสมอาหารที่สังเคราะห์จากกระบวนการทางเคมี ถูกใช้เพื่อเพิ่มสีสันให้กับอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีการใช้แพร่หลายทั่วไปในระดับโลก แต่ขณะนี้ในบางประเทศได้ห้ามใช้หรือควบคุมการใช้สีผสมอาหารนี้แล้ว เช่น เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และประเทศในโซนยุโรป เนื่องจากข้อกังวลในเรื่องผลกระทบด้านสุขภาพ หากมีใช้เกินกว่าปริมาณที่กำหนด

ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังอนุญาตให้ใช้ Sunset Yellow FCF ในอาหารและเครื่องดื่มได้ โดยระบุว่าชาที่ใส่สีจะถูกนับเป็นประเภทชาปรุงสำเร็จที่ปรุงแต่งสีกลิ่นรส ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ใส่สีผสมอาหารนี้ได้ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สอดคล้องตามมาตรฐานสากล

เนื่องจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ถือว่าสีดังกล่าวยังปลอดภัยสำหรับการใช้ในอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งต้องควบคุมการใช้และการบริโภคอย่างเหมาะสม นั่นคือกำหนดให้ใช้ในปริมาณ 0-4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (น้ำหนักตัว) ต่อวัน

แม้ว่าสาร Sunset Yellow FCF จะผ่านการตรวจสอบจาก อย. แล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถดื่มได้โดยไม่จำกัด โดย ดร. นุติ หุตะสิงห หรือที่คนรู้จักในชื่อ เชฟทักษ์ เชฟและนักวิทยาศาสตร์ทางอาหาร ย้ำเตือนถึงความเสี่ยงและอันตรายจากการดื่มชาผสมสีมากจนเกินไปว่า หากดื่มชาไทยเกิน 2 แก้วต่อวัน จะได้รับเจ้าสารสีส้มตัวนี้มากกว่าปริมาณที่มาตรฐานสากลกำหนดไว้ เกิดผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น กระตุ้นให้เกิดอาการสมาธิสั้นในเด็ก รวมไปถึงความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือผลเสียต่อไต

เพราะในชาทั่วไปมีสาร Oxalate ปนอยู่ โดยชาดำมีปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือชาแดงและชาเขียว ชาไทยผลิตจากชาดำ คนขายมักใส่ผงชาเยอะเพื่อความเข้มข้น ทำให้การละลายของสาร Oxalate ในน้ำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

เมื่อสารตัวนี้พบกับแคลเซียมในไต ทำให้แข็งตัวเป็นสารประกอบแคลเซียมที่มีโอกาสกลายเป็นนิ่วในไตได้ ไม่นับรวมกับน้ำตาล ไขมันจากครีมเทียม นมข้นหวานและสารปรุงแต่งที่ได้รับเพิ่มขึ้นตามปริมาณแก้วที่ดื่มในแต่ละวัน

จากบทความ Methods for the analysis of Sunset Yellow FCF (E110) in food and beverage products- a review ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร TrAC หรือ Trends in Analytical Chemistry ได้มีการกล่าวถึงประเด็นของสีผสมอาหาร ซึ่งเน้นไปที่สาร Sunset Yellow FCF เป็นหลัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้สีผสมอาหารขนาดนี้ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม พบว่าอาจส่งผลให้เกิดอาการสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการทางพฤติกรรมที่รวมไปถึงการขาดสมาธิ และหุนหันพลันแล่น หรือแม้แต่โรคมะเร็ง และผลเสียต่อสุขภาพอื่น ๆ เมื่อบริโภคมากเกินปริมาณที่กำหนดไว้และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

ขณะที่ เว็บไซต์ กองพัฒนาศักภาพผู้บริโภค ให้ข้อมูลว่า ชา หมายถึง ใบ ยอด และก้าน ที่ยังอ่อนอยู่ของต้นชาในสกุล Camellia ที่ทำให้แห้งแล้ว ส่วนชาปรุงสำเร็จ จะหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากชา หรือชาผงสำเร็จรูป (instant tea) มาปรุงแต่งกลิ่นรส ในลักษณะพร้อมบริโภคและบรรจุในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะเป็นชนิดเหลวหรือแห้ง เช่น ชาไทยปรุงสำเร็จ ชาเขียวปรุงสำเร็จ จะจัดอยู่ในหมวดอาหาร “เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรสเข้มข้นหรือแห้ง” โดยหมวดอาหารกลุ่มนี้อนุญาตให้ใช้วัตถุเจือปนอาหาร (สี) ได้ แต่การใช้ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

ปริมาณวัตถุเจือปนอาหาร (สี) ที่อนุญาตให้ใช้

  • กรณีใช้สีใดสีหนึ่ง อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 100 ppm
  • กรณีใช้หลายสีผสมกัน ผลรวมของสีต้องไม่เกิน 100 ppm

โดยคำนวณในสภาพพร้อมบริโภค ซึ่งปริมาณที่อนุญาตให้ใช้มีความปลอดภัย และสอดคล้องกับสากล (CODEX)

ตัวอย่างวัตถุเจือปนอาหาร (สี) เช่น

  • SUNSET YELLOW FCF (ซันเซตเยลโลว์เอฟซีเอฟ) (INS 110)
  • TARTRAZINE (ตาร์ตราซีน) (INS 102)
  • BRILLIANT BLUE FCF (บริลเลียนต์ บลู เอฟซีเอฟ) (INS 133)

แต่สำหรับอาหารที่มีลักษณะเป็นผง หรือใบ และมีสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของผลิตภัณฑ์เอง เช่น ชา ชาสมุนไพรชนิดชงดื่ม (Herbal infusion) จะเป็นหมวดอาหารที่ไม่อนุญาตให้ใช้วัตถุเจือปนอาหาร (สี) ยกเว้นสีในกลุ่มคาราเมล

  • ข้อแนะนำการเลือกชาปรุงสำเร็จในภาชนะบรรจุ
  • ให้เลือกที่มีเลข อย.
  • อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ กรณีที่มีการใช้สีจะแสดงคำว่า “สีสังเคราะห์ หรือสีธรรมชาติ (INS…หรือ ชื่อของสี)
  • สังเกตสีเครื่องดื่ม ซึ่งเมื่อชงพร้อมดื่มแล้ว มีสีตามธรรมชาติ หรือที่มีสีไม่เข้มฉูดฉาด
  • เลือกเครื่องดื่มที่หลากหลายเพื่อลดการได้รับสีผสมอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ

อ่านต่อ
เสียงตูมดังสนั่น กระบะชนรถยนต์ พุ่งอัดร้านคอมพ์ หงายท้องล้อชี้ฟ้า ดับ1
Khaosod
บ้านและเมือง “...เพราะฉันศรัทธา...จึงฝังเมล็ดลงในดิน”
Siamrath
ไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดอีสานและใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
Siamrath
ราคาน้ำมันวันนี้ (10 พ.ค. 68) เช็กราคาดีเซล-แก๊สโซฮอล์ล่าสุด
Prachachat
หน้า 1 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม 2568
Matichon
ไม่รู้จักกลัวอันตราย จับโจรแสบยัดคุกตระเวนลักเสาราวกันถนน-ป้ายเตือนทางโค้งไปอื้อ
Khaosod
ผ่าตัดผ่านด้วยดี "ด้งเด้ง"ยังอยู่ในความดูแลของหมอใกล้ชิด ครอบครัววอนแฟนคลับยังไม่เปิดให้เยี่ยม
Khaosod
รุดช่วย ด.ญ.13 น่วมทั้งตัว โดนแม่เสพยาบ้า ทำร้ายเป็นประจำ ญาติ-ชาวบ้าน สุดเอือมพฤติกรรม
Khaosod
หนุ่มขับรถตู้ทึบ เล่านาทีหนีตาย รถคว่ำไฟลุกท่วม พยายามออกมาจากรถ ก่อนไฟลวกบาดเจ็บ
Khaosod
ผอ.อพท.เดินหน้าเร่งสำรวจพื้นที่ก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง ก่อนเสนอรัฐมนตรี
Khaosod