เปิดข้อมูล ยาอัลปราโซแลม คืออะไร ทำไมถึงเรียก “ยาเสียสาว” หลัง หมอแอร์ แอบอ้างคลินิกสั่งซื้ออื้อ จนถูกเจ้าหน้าที่รวบคาแฟลตตำรวจ

จากกรณีเจ้าหน้าที่เข้ากับกุม พ.ต.อ. หญิง อัญชุลี เพ็ชรรัตน์ หรือ “หมอแอร์” ตามหมายจับคาแฟลตตำรวจ เนื่องจากแอบอ้างชื่อคลินิก 11 แห่ง สั่งซื้อยาอัลปราโซแลม (alprazolam) หรือ ยานอนหลับที่มักใช้ในการทำให้เสียสาว ซึ่งถือว่าวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 และประเภท 4 ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ตามที่นำเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้


ล่าสุด (10 มิ.ย.) เพจ Drama-addict โพสต์ให้ความรู้ถึงยาอัลปราโซแลม ว่า เป็นยากลุ่ม benzodiazepine ที่ออกฤทธิ์สั้นหรือนานปานกลาง เช่นเดียวกับ lorazepam มีชื่อทางการค้า เช่น zolam, xanax โดยใช้สำหรับรักษาอาการวิตกกังวล สงบระงับ และช่วยให้นอนหลับ

ขณะเดียวกัน ย้อนไปเมื่อปี 2565 รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือ “อ.เจษฎ์” เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาอัลปราโซแลมไว้ว่า เป็นยาที่ใช้รักษาอาการกลุ่มโรควิตกกังวล, ตื่นตระหนก, ภาวะนอนไม่หลับ, คลายกล้ามเนื้อ และภาวะซึมเศร้า โดยเป็นยาที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าได้

หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการดื้อยาและติดยาได้ และถ้าหยุดใช้ทันที จะเกิดอาการขาดยา เช่น คลื่นไส้ นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย ซึมเศร้า เป็นโรคจิต หรืออาจชักได้ และการใช้ยาอัลปราโซแลมร่วมกับกับยาเสพติดชนิดอื่น ๆ หรือใช้ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ จะเสริมฤทธิ์การกดระบบประสาท กดการหายใจ และอาจเสียชีวิตได้


ดังนั้นยาอัลปราโซแลมจึงไม่อนุญาตให้จำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป ต้องจ่ายยาโดยแพทย์เท่านั้น หากมีการผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก โดยไม่รับอนุญาต จะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุก 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000-400,000 บาท

ส่วนสาเหตุที่ยาอัลปราโซแลมถูกเรียกว่า “ยาเสียสาว” นั้น เป็นเพราะว่ายาชนิดนี้เป็นยาที่ผู้ประสงค์ร้ายมักใช้กับเหยื่อเพื่อก่ออาชญากรรม เช่น รูดทรัพย์ หรือล่วงละเมิดทางเพศ เนื่องจากตัวยาจะออกฤทธิ์ได้เร็ว ไม่เกิน 30 นาทีหลังรับประทาน, ละลายในน้ำได้ดี ทำให้เหยื่อไม่รู้ตัว แถมผลข้างเคียงยังทำให้เกิดอาการสูญเสียความทรงชั่วขณะอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเพียงยาอัลปราโซแลมเท่านั้นที่ใช้ก่ออาชญากรรมดังกล่าว ผู้ร้ายอาจใช้ยาชนิดอื่นออกฤทธิ์คล้ายกัน เช่น เคตามีน, ยามิดาโซแลม-โดมิคุม, ยาฟลูไนตราซีแปม-โรฮินนอล และสารจีเอชบี ทดแทนได้เหมือนกัน


ข่าวล่าสุด

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเพียงยาอัลปราโซแลมเท่านั้นที่ใช้ก่ออาชญากรรมดังกล่าว ผู้ร้ายอาจใช้ยาชนิดอื่นออกฤทธิ์คล้ายกัน เช่น เคตามีน, ยามิดาโซแลม-โดมิคุม, ยาฟลูไนตราซีแปม-โรฮินนอล และสารจีเอชบี ทดแทนได้เหมือนกัน


ข่าวล่าสุด

อ่านต่อ
หนุ่มไต้หวัน ซิ่งเก๋งชนห้อยสะพาน พังยับ เจ้าตัวไม่สน ลงมานั่งสมาธิสงบนิ่ง
Thethaiger
ระทึก! รถโดยสารประจำทาง เสียหลักพุ่งเข้าอู่รถแท็กซี่ รถเสียหายหลายคัน
AmarinTV
ฝนตกหนักลำปาง น้ำท่วมขยายวงกว้าง 600 หลังคาอ่วม จมบาดาล
AmarinTV
เช็กสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2568 เดือนกรกฎาคม ใครบ้างได้สิทธิ
Thansettakij
แจ้งน้ำประปาไม่ไหล คืนวันเสาร์ที่ 19 ก.ค. 2568 ถนนประเสริฐมนูกิจ
Thansettakij
ด่วน ไฟไหม้บริษัท ซอยเพชรเกษม 93 กู้ภัยเร่งคุมเพลิงไฟไหม้
Bangkokbiz
สาวอายุแค่ 21 ป่วยตับวายระยะ 4 เตือนเป็นอุทาหรณ์ "ตอนเช้า" อย่าทำแบบนี้!
Sanook
"รมว.ทวี" หารือ UNODC ส่งเสริมความร่วมมือต้านยาเสพติดในภูมิภาค
Siamrath
โครงการ ปตร.ห้วยสำราญ คืบหน้า 80% พร้อมคลี่คลายปัญหาน้ำหลาก-แล้งชาวศรีสะเกษ
Siamrath
ดมยาดมบ่อยๆ เป็นอะไรไหม? รู้ทันผลข้างเคียงและโทษของยาดม
Sanook