เมื่อใดก็ตามที่คุณได้รับหมายเรียกจากศาล โดนฟ้อง หรือกำลังจะยื่นฟ้องคนอื่น เรื่องสำคัญอันดับแรกคือ หาเวลาคุยกับทนายทันที เพราะคดีแพ่งกำหนดให้จำเลยต้องยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับจากรับหมาย ส่วนคดีอาญาบางข้อหากระชั้นกว่านั้นคือ 7 วัน หากปล่อยเลย ศาลอาจพิพากษาโดยไม่ไต่สวนได้

ส่วนคนที่อยากฟ้องควรเริ่มด้วยการปรึกษาทนายเพื่อประเมินโอกาสแพ้–ชนะ คำนวณต้นทุนคร่าวๆ ก่อนจะตัดสินใจออก จดหมายทวงถาม หรือขอไกล่เกลี่ยกับหน่วยงานรัฐ ว่าเงินที่จ้างทนายคุ้มกับที่ฟ้องมั้ย ถ้าจบที่ขั้นตอนไกล่เกลี่ย มักทำให้คู่กรณีตกลงกันได้โดยยังไม่ต้องขึ้นศาล


ค่าใช้จ่ายจ้างทนาย ต้องเตรียมเงินกี่บาท?

ราคาจ้างทนายไม่มีเพดานตายตัว แล้วแต่สำนักงานกฎหมายกำหนด ถ้าเป็นทนายไม่มีชื่อเสียงนักรหรือมือใหม่ ราคาก็จะถูกกว่า ทนายเซเลป ที่มีชื่อเสียงในสื่อ หรือสำนักงานกฎหมายมืออาชีพ ต้องใช้ภาษาอังกฤษ หรือคดีซับซ้อน ต้องใช้พยานหลักฐานสูง ราคาก็จะแพงขึ้นมาก

*ตัวเลขเฉลี่ยตลาดปี 2567 – 2568 เพื่อการวางแผนเท่านั้น

ปกติสัญญาว่าจ้างจะแบ่งจ่ายเป็นงวด เช่น มัดจำตอนรับสำนวน, งวดขึ้นศาลชั้นต้น, และงวดอุทธรณ์หรือฎีกา ส่วนค่าธรรมเนียมศาลกรณีคดีแพ่ง ศาลจะคิด 1,000 บาท หากทุนทรัพย์คดีต่ำกว่า 300,000 บาท แต่ถ้าสูงกว่านั้นจะคิด 2 เปอร์เซ็นต์ของทุนทรัพย์และไม่เกิน 200,000 บาท ขณะที่คดีอาญาอาจต้องเตรียมเงินประกันตัวตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านตามความร้ายแรงของข้อหา

เป็นคดีฟ้องร้องในศาล ใช้เวลากี่เดือนจบ

ภาพรวมระยะเวลาการต่อสู้คดีใช้เวลาหลักหลายเดือน เพราะในศาลมีคตีเยอะมาก ยิ่งจังหวัดไหนมีประชากรเยอะ จำนวนคดีก็มีโอกาสเยอะตาม ถ้าฟ้องตรงต่อศาล ไม่ผ่านกระบวนการสอบสวนของตำรวจ แรกสุดศาลจะนัดโจทก์มาไต่สวนมูลฟ้อง ว่าคดีมีมูลหรือไม่ ถ้าศาลรับทำคดี ศาลชั้นต้นจะนัดเวลาพิจารณาวันสืบพยานอีกครั้ง


ศาลชั้นต้นมักใช้เวลา 6 เดือนในคดีจัดการพิเศษ ราว 1 ปีสำหรับคดีสามัญ เมื่อต่อสู้ไปถึงชั้นอุทธรณ์จะเพิ่มขึ้นอีกราว 1ปี ถ้าสู้ถึงชั้นฎีกาก็อาจเพิ่มอีกปีหนึ่ง รวมแล้วคดีที่ลากยาวครบ 3 ศาลมักกินเวลาอย่างน้อย2-3ปี แม้พิพากษาถึงที่สุดแล้ว หากเป็นฝ่ายชนะก็ยังต้องใช้เวลา 3–6 เดือนสำหรับกระบวนการบังคับคดี ไม่ว่าจะยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลย ค่าทนายช่วงบังคับคดีมักคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เล็ก ๆ ของยอดที่ยึดคืนได้

ในฐานะจำเลย สิ่งสำคัญที่สุดคืออย่าเพิกเฉยหมายศาล เพราะหากไม่ยื่นคำให้การหรือไม่มาตามนัด ศาลอาจพิพากษาแพ้ทันที ทั้งๆ ที่เราอาจมีโอกาสชนะ ไม่ผิดเลยก็ได้

จำเลยสามารถขอไกล่เกลี่ยได้ทุกช่วงเวลา แม้ในวันนัดสืบพยานก็ยังขอให้ศาลเปิดห้องเจรจาได้ ผู้มีรายได้น้อยยังยื่นขอทนายอาสาจากสภาทนายความหรือศาล เพื่อรับความช่วยเหลือฟรีเ ไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนโจทก์ต้องเตรียมหลักฐานให้รัดกุมที่สุด ตั้งแต่สัญญา ใบเสร็จ แชต ไปจนถึงอีเมล เพราะยิ่งเอกสารชัด คดีจะเดินเร็วและลดความเสี่ยงเสียค่าศาลโดยเปล่าประโยชน์ โจทก์บางคนต่อรองจ่ายค่าทนายแบบ “เหมาจ่ายบวกโบนัสหากบังคับคดีสำเร็จ” ซึ่งทำได้ถ้าไม่ขัดกับข้อห้ามแบ่งทรัพย์ตามคำพิพากษา

ถ้าเราแพ้คดี ต้องจ่ายค่าทนายให้อีกฝ่ายไหม

ศาลมีอำนาจสั่งให้ ฝ่ายแพ้ ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมให้ผู้ชนะ ตามมาตรา 149 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ป.วิ.พ.) ระบุชัดว่า รวมค่าทนายความอยู่ในนั้นด้วย ปกติแล้ว ถ้าเป็นดคีแพ่ง ค่าทนายให้เป็นพับ

ส่วนอาญา ศาลมักให้จ่าย แต่จำนวนที่จ่าย ไม่ใช่ค่าจ้างจริงที่คู่กรณีทำสัญญากับทนาย แต่ศาลจะคำนวณตาม ตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. กำหนดเพดานสูงสุด คดีละ ไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท และไล่ขั้นบันไดเพิ่มตามมูลค่าคดี สูงสุดไม่ถึงหลักแสน แต่ส่วนใหญ่ศาลมักให้จ่ายจริงหลักพัน เช่น โจทก์ชนะคดี อ้างว่าจ้างทนาย 5 หมื่น แต่ศาลสั่งให้ผู้แพ้จ่าย 4 พัน ส่วนต่าง 46,000 บาท โจทก์ต้องรับผิดชอบเอง

ศาลใช้ดุลพินิจอีกชั้นว่า ควรให้หรือไม่ หากคดีมีการยอมความครึ่งทาง หรือโจทก์ชนะเพียงบางส่วน ศาลอาจสั่งว่า “ค่าทนายเป็นพับ” ให้ต่างฝ่ายต่างออกเอง


ทนายภาคปฏิบัติจึงมักเตือนลูกความว่า “ต่อให้ว่าจ้างเราเป็นแสน ศาลอาจให้คู่แพ้คืนมาแค่หลักพันถึงหลักหมื่น” จึงอย่าคาดหวังเรียกคืนค่าทนายทั้งหมดได้

คดีอาญาต่างจากแพ่งอย่างไร

ถ้าอัยการเป็นโจทก์ คดีของรัฐ จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าทนายให้อัยการ เพราะรัฐแบกรับค่าใช้จ่ายเอง ถ้าผู้เสียหายเข้าเป็น โจทก์ร่วม หรือ ฟ้องเอง (เอกชน) ศาลอาจสั่งค่าทนายตามหลักเดียวกับคดีแพ่ง คือคิดจากตาราง 6 ประกอบดุลพินิจ

สิ่งที่คุณควรเตรียมใจ
  • เตรียมค่าทนายของตัวเองก่อนเสมอ เพราะโอกาสได้คืนมีจำกัดและใช้เวลานาน ต้องรอคดีถึงที่สุด

  • ต่อรองไทม์ไลน์ชำระกับทนาย ให้ชัดตั้งแต่ต้น บางสำนักงานลดค่าจ้างชั้นแรก แลกกับ โบนัสส่วนแบ่ง ถ้าเรียกคืนจากคู่แพ้ได้

  • อย่าลืมต้นทุนอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมศาล 2 % (เพดาน 200,000 บาท), ค่าส่งหมาย, ค่าสืบพยาน ฯลฯ ซึ่งศาลอาจให้คู่แพ้ชดใช้ แต่ อาจสั่งให้ตกเป็นพับได้เช่นกัน

    เช็กลิสต์ก่อนเซ็นสัญญาจ้างทนาย


    • ขอดูใบอนุญาตว่าความ (บัตรสภาทนายฯ) เพื่อความมั่นใจ
    • สัญญาว่าจ้างต้องเป็นลายลักษณ์อักษร ระบุขอบเขตงานและค่าจ้างชัดเจน
    • งวดการจ่ายเงินต้องชัดเจน (เช่น มัดจำ, ก่อนขึ้นศาล, ก่อนอุทธรณ์)
    • ถามให้ชัดว่าค่าใช้จ่ายภายนอก (ค่าเดินทาง, ค่าส่งหมาย) รวมหรือแยกจ่าย
    • ช่องทางติดต่อต้องสะดวก ตอบไว อัปเดตความคืบหน้าสม่ำเสมอ

    ดังนั้น การมีคดีความ ไม่ต่างจากการเดินขึ้นเขาลูกสูง ไกล เหนื่อยทรมาน ต้องทรหด การมีทนายดี ๆ เปรียบเสมือนมีไกด์ผู้รู้เส้นทาง พาคุณก้าวข้ามรอยแยกทางกฎหมาย ลดจุดอันตรายที่ซ่อนอยู่ คอยเตือนให้หยุดพักก่อนแรงจะหมดกระเป๋า ถ้าต้องสู้ก็สู้ด้วยแผนที่ชัดเจน รู้ต้นทุน รู้ความเสี่ยง รู้เพดานค่าทนายที่อาจต้องจ่ายให้คู่กรณี

    สำคัญที่สุดคือรู้ว่าเมื่อถึงจุดไหนควร “พักสงบศึก” เพื่อรักษาทรัพย์และสติไว้ต่อยอดอนาคต เพราะชัยชนะที่แท้จริงไม่ใช่แค่คำพิพากษาในมือ แต่คือการที่คุณยังยืนบนยอดเขาได้อย่างมั่นคง พร้อมทรัพยากรและหัวใจสำหรับก้าวต่อไป


    ข่าวล่าสุด

    อ่านต่อ
    ‘สมศักดิ์’ สั่งเข้ม สสจ.-อย. ปูพรมกวาดล้างสินค้า ‘กัญชาเถื่อน’ ทั่วปท. ย้ำใช้ทางการแพทย์เท่านั้น  
    Matichon
    อย.ยกร่างประกาศฯยกระดับคุณภาพ ‘น้ำดื่ม-น้ำแข็ง’ เทียบสากล เพิ่มหลักเกณฑ์แสดงฉลากดิจิทัล
    Matichon
    กรมควบคุมโรคยันไทยพร้อมดูแล ‘ผู้ติดเชื้อเอชไอวี’ เผยเข้ารักษาปีละกว่า 2 หมื่นราย 
    Matichon
    กพร.เทรนช่างยานยนต์ไฟฟ้า–เทคโนโลยีอุตสาหกรรม เปิด 4 คอร์สอบรม
    Matichon
    กรมคุมโรคสอบข้อมูลผู้ป่วย ‘ฝีดาษลิง’ เชียงใหม่ ปีนี้ไทยพบแล้ว 40 ราย ชี้เพศสัมพันธ์ต้นเหตุแพร่เชื้อ 
    Matichon
    ส.อ.ท.เกาะติด ไทยติด 10 ประเทศรับจม.ขึ้นภาษีจากสหรัฐ หวังใช้โมเดลเวียดนาม
    Matichon
    ระทึก! เพลิงไหม้ร้านสะดวกซื้อ ย่านวัชรพล จนท.รุดดับวุ่น
    Matichon
    จดหมายเปิดผนึก ถึงกรมลดโลกร้อน ชี้ แผนแม่บทไม่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก เป็นแค่ การฟอกเขียว
    Matichon
    อวสานเช้าวันจันทร! รถติดแทบไม่ขยับ หลังปิด สะพานข้ามแยกบางเขน 1 เดือน ซ่อมรอยต่อชำรุด
    Matichon
    นักวิชาการห่วงแนวจ่าย ‘กัญชา’ จี้สธ.-สภาวิชาชีพทำความเข้าใจ
    Matichon